‘ภาพวาด’ ของลูก บอกอะไรมากกว่าที่คุณคิด

5/5 - (1 vote)

นักจิตวิทยาคลินิกจากประเทศอิตาลีชื่อ มานูเอล่า แบร์น่า (Manuela Sberna) เป็นอาสาสมัครดูแลด้านจิตวิทยาให้กับเด็กๆ ของบ้านพักฉุกเฉินภายใต้การดูแลของสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีได้ให้ความช่วยเหลือผ่านกิจกรรมการวาดภาพเพื่อให้เด็กๆ ที่ได้รับความรุนแรงได้แสดงออกถึงความรู้สึก หรือบอกความลับที่อยากจะลืม ซึ่งเทคนิคคือ การวาดภาพเพื่อไขความลับในความคิดและจิตใจของเด็กนั้นควรเป็นการวาดภาพแบบตามใจเด็ก (Free drawing)

 

Free drawing เป็นการวาดภาพที่ไม่มีหัวข้อ ไม่มีกฎเกณฑ์ มีเพียงกระดาษเปล่า ดินสอ หรือสี เท่านั้น ปล่อยให้เด็กวาดภาพอะไรก็ได้ที่ต้องการตามใจของเขา วาดอะไรก็ได้ที่อยู่ในใจของเขา โดยในขณะที่เด็กกำลังวาดนั้นก็ปล่อยให้เขาวาดรูปไปโดยยังไม่ต้องเข้าไปรบกวนอะไร แต่ให้หมั่นสังเกตการณ์ลงเส้นสายของลายเส้นและการลงสีของเขา

 

หลังจากที่เด็กวาดภาพเสร็จแล้วก็มาถึงเคล็ดลับสำคัญคือ การเปิดโอกาสให้เขาเล่าถึงเรื่องราวของเขาจากภาพวาดนั้น ไม่มีการวิจารณ์วาดภาพแต่เป็นการรับฟังเรื่องราวซึ่งจะบ่งบอกให้ผู้ใหญ่ได้เข้าใจความคิดและความรู้สึก ขณะนั้นของเด็กน้อย หรืออาจเป็นอดีตอันแสนหวานของเขา อาจเป็นอนาคตที่ใฝ่ฝัน

 

หรือในทางตรงกันข้ามอาจเป็นความข่มขืนใจความคับข้องหมองใจที่ซุกซ่อนอยู่ก็เป็นได้ นักจิตวิทยาต้องอาศัยประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและเวลาในการสร้างความสัมพันธ์เป็นการส่วนตัวในการสังเกตเด็กแต่ละคนเพื่อที่จะตีความภาพวาดของเด็กแต่ละคนได้ถูกต้อง

 

พ่อแม่ใกล้ชิดลูกและรู้จักลูกดีกว่าใคร รู้ประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาของเขา รู้จักอารมณ์พื้นฐานของเขา จึงเป็นการง่ายที่จะแปลความหมายที่ซ่อนอยู่ในภาพของลูกๆ แต่ในขณะเดียวกัน ก็อาจเป็นเส้นผมบังภูเขาหากความใกล้ชิดนั้น ทำให้ลูกไม่ปฏิบัติตามคำเชิญชวนเมื่อเปรียบกับการที่ลูกได้รับคำเชิญชวนจากคุณครู หรือนักจิตวิทยาซึ่งไม่คุ้นเคยนัก

 

ดังนั้น หากพ่อแม่ต้องการให้ความลับที่ซ่อนอยู่ในใจของลูกๆ ได้รับการเปิดเผยอีกครั้งด้วยเครื่องมือการสื่อสารที่จะเจาะลึกเข้าไปถึงหัวใจของเด็กน้อยโดยไม่ต้องเข้าไปค้นเค้นกันให้ยุ่งยากอะไร แต่สำคัญที่ว่าพ่อแม่อย่างเราอาจต้องทำให้เป็นเรื่องสนุก เป็นเกมส์เพื่อเด็ก และเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้วาดภาพตามใจเขา

 

เมื่อได้วาดภาพหลายๆ ภาพเราก็พอจะเริ่มเข้าใจความคิดบางอย่างของเขาได้ และพ่อแม่ก็ควรหมั่นฝึกฝนการอ่านใจลูกน้อยจากลายเส้นและการลงสีของลูกน้อยให้แม่นยำมากขึ้น เพื่อช่วยให้เขารู้จักตัวเองมากขึ้น และพ่อแม่ก็จะได้รู้จักตัวเขามากขึ้นด้วยเช่นกัน หากมีสิ่งใดน่าเป็นห่วงเกิดขึ้นเราจะได้เข้าไปช่วยเหลือแก้ไขได้ถูกต้องทันท่วงที ก่อนที่บุคลิกภาพของเด็กจะหล่อหลอมเต็มที่ในวัย 18 ปี

 

ทำอย่างไร หากลูกของเราไม่ชอบวาดรูป 

 

คุณมานูเอล่า แนะนำว่า ลองให้เขาระบายสีจากภาพการ์ตูนสำเร็จรูปก็ได้ โดยในระหว่างที่เขาวาดก็ปล่อยให้เขาเป็นอิสระแต่พ่อแม่แอบเข้าไปสังเกตการณ์ว่าเขามีวิธีการใช้เส้นสีหนักเบาอย่างไร เมื่อระบายสีเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ให้เขาเล่าเรื่องจากภาพนั้นหรือในกรณีที่ลูกไม่ชอบวาดรูปแบบอิสระ (free drawing) แต่ชอบวาดรูปเดิมๆ แบบลอกแบบ ก็ให้เขาวาดแบบนั้นก่อนก็ได้ สิ่งสำคัญอยู่ที่การถามคำถามจากภาพนั้น

 

หัวใจสำคัญของการตั้งคำถามจากภาพวาด

 

ภาพวาดทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น วาดอิสระตามใจอยาก วาดลอกเลียนแบบหรือระบายสีในภาพวาด คือ ถามลูกว่าลูกอยากเป็นอะไรในภาพ เป็นการ์ตูนตัวไหน เจ้าตัวนั้นกำลังทำอะไรอยู่ เจ้าตัวนั้นรู้สึกอย่างไร เจ้าตัวนั้นอยากทำอะไรซึ่งการถามเช่นนี้ เป็นการถามเชิงอ้อม ไม่ยิงตรงใส่ลูกเปรี้ยงๆ จึงช่วยให้ลูกตอบได้เต็มที่ไม่มีเคอะเขิน เพราะรู้สึกเหมือนเป็นเรื่องสมมุติ

 

เทคนิคการอ่านใจลูกจากภาพวาดนั้นมีหลายอย่างด้วยกันค่ะ นักจิตวิทยาท่านนี้กล่าวว่าไม่ง่ายนัก แต่ก็พอจะฝึกฝนได้ กล่าวคือ รู้จักการอ่านภาพวาดที่บ่งบอกถึงเรื่องราวที่น่าสงสัย เช่น ภาพที่ดูแล้วก็เห็นถึงความไม่สมดุลของภาพ ภาพที่ว่างเปล่าเกินไปจนมีกระดาษเปล่าเหลือเยอะ อาจหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ไม่ราบรื่น 

 

ตัวอย่างการวิเคราะห์ภาพวาดของเด็ก

 

 

 

Cr ข้อมูล : เรียบเรียงบทความจาก หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

ฐิติพันธุ์ชมสว่างเป็นผู้ฝึกสอน CrossFit อายุ 40 ปีจากประเทศจีนฮ่องกง เธอจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อ 15 ปีก่อน เธอใช้เวลาส่วนใหญ่ที่ศูนย์ออกกำลังกายเพื่อช่วยให้ผู้อื่นมีสุขภาพดีและมีรูปร่าง เธอแต่งงานแล้วและมีลูกชายคนแรกและใช้เวลาว่างของเธอในการฝึกซ้อมมาราธอน
ฐิติพรรณ จอมสว่าง