ยุคดิจิตอล ควรเลี้ยงลูกอย่างไร

Rate this post

ยุคดิจิตอล ควรเลี้ยงลูกอย่างไร

เพื่อส่งเสริมพัฒนาการ ความฉลาดของลูกน้อยอย่างรอบด้าน นพ.สมชาติ สุทธิกาญจน์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลเจ้าพระยา ให้ความความรู้ และวิธีเลี้ยงดูลูกอย่างมีคุณภาพ รับกับสังคมยุคดิจิตอล ผ่านเวทีสัมมนาหัวข้อ เลี้ยงลูกในศตวรรษที่ 21 เมื่อปี 2015 ณ โรงพยาบาลเจ้าพระยา ทีมงานเก็บข้อมูลส่งต่อ นำไปประยุกต์กับวิธีการเลี้ยงลูกตัวน้อยๆ ของคุณพ่อคุณแม่ค่ะ 

 

สถานการณ์ ปัญหาเด็กยุคดิจิตอล 

จากประสบการณ์การทำงาน พบว่า คดีความที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนในแต่ละปีมีถึง 40,000-50,000 คดี มักจะเป็นเรื่องยาเสพติด การทะเลาะวิวาทชกต่อย ทำร้ายร่างกายหรือการลักทรัพย์ ซึ่งต่างจากเมื่อ 3-4 ปีก่อนที่ตัวเลขไม่สูงขนาดนี้ และพบว่า เป็นการทำผิดซ้ำถึง 7,000 คดี หมายความว่า เด็กที่เคยทำผิดกลับมาทำซ้ำอีก และมีอายุน้อยที่น้อยลง เช่น อายุ 11 ปีก็ทำกระทำผิดแล้ว มองได้ว่า ปัญหาเด็กไทยขณะนี้คือเรื่องพฤติกรรมการใช้อารมณ์ การรู้ผิดรู้ถูกยังไม่ชัดเจน หากสะท้อนกลับไปที่การเลี้ยงดู ไม่ว่าจะกลุ่มที่เข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายหรือกลุ่มที่ไม่ได้เข้าสู่กระบวนการ (เด็กติดเกม เด็กก้าวร้าว พฤติกรรมไม่เหมาะสม) ส่วนใหญ่มีต้นเหตุมาจากการเลี้ยงดู เป็นการเลี้ยงดูที่ถูกตามใจมากเกินไป และเป็นครอบครัวที่พ่อม่ไม่ได้อยู่ด้วยกัน และยังพบว่า แม้พ่อแม่จะไม่ได้อยู่ด้วยกัน เด็กก็ถูกเลี้ยงดูเป็นอย่างดี ดังนั้น คงต้องกลับมาดูว่า ลูกหลานของเราถูกตามใจหรือเปล่า ถ้าใช่ ก็ถือว่าเป็นเด็กกลุ่มเสี่ยงที่จะมีปัญหาดังกล่าว เพราะการเลี้ยงดูที่มีแต่ให้มากเกินไปเด็กจะขาดความยับยั้งชั่งใจ เป็นส่วนใหญ่ 

 

ทัศนคติพ่อแม่ คือต้นตอปัญหา

ทัศนคติการเลี้ยงดู ทำให้เกิดปัญหาเรื่องอารมณ์และพฤติกรรมของเด็ก เช่น เป็นลูกคนเดียว เป็นลูกคนเล็ก ก็เลยถูกตามใจมากหน่อย ปู่ย่าตายาย พ่อแม่มีแนวโน้มที่จะตามใจลูก และการเลี้ยงลูกไม่ว่ายุคไหนก็ตาม เมื่อพ่อแม่ตามใจ (โดยเฉพาะในยุคนี้ที่สิ่งเร้ามีมากมาย) ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ เด็กไม่สามารถยับยั้งชั่งใจได้ กลายเป็นต้นตอที่เขาจะทำผิด เช่น ติดเกม ขโมยเงินพ่อแม่ และยังทำให้เด็กไม่มีระเบียบวินัย โดยเฉพาะเด็กติดเกม  เป็นเด็กที่ไม่สามารถยับยั่งชั่งใจตัวเอง เกิดจากพ่อแม่ไม่ตั้งกฎกติกากับลูก และเด็กที่ติดเกมมากๆ อาจมีปัญหาทางจิตเวช เพราะไม่สามารถแยกแยะโลกของความจริงกับเกมได้ เด็กกลุ่มนี้จะมีอารมณ์ที่ฉุนเฉียว ก้าวร้าว พ่อแม่จึงควรสร้างกติกาทุกเรื่องกับลูก เมื่อไม่ทำตามกติกาก็ต้องลงโทษ หรือปัญหาเรื่องพี่น้องเลาะกัน ที่สังคมไทยมักสอนเรื่องนี้ว่า ให้พี่ยอมน้อง ที่จริงควรสอนให้ลูกรู้ด้วยเหตุผล ว่าทำไม่ได้เพราะอะไร เช่น การแย่งของเล่น วิธีที่ควรเป็นไปคือ เบี่ยงเบนความสนใจในเรื่องงนั้นๆ ไปหรือสอนให้น้องขออนุญาตพี่ก่อน สอนให้เคารพพี่ และพี่ก็ควรเห็นใจหรือเสียสละให้น้องเมื่อน้องขออนุญาตแล้ว ซึ่งรวมถึงพฤติกรรมขี้วีน โวยวายเมื่อต้องการอะไรก็ตาม พ่อแม่ไม่ควรให้อะไรเลย เพราะเด็กจะเรียนรู้ว่า นั่นคือการให้รางวัล ทำให้เด็กเอาแต่ใจตัวเอง ขาดการยับยั้งใจ ขาดการควบคุมอารมณ์ นิสัยแบบนี้จะติดตัวไปเมื่อเขาโต 

 

ลงโทษลูก ทำอย่างไรจึงเรียกว่าเหมาะสม

ยกตัวอย่าง เช่น เรื่องการลักขโมย แม้ว่าลูกจะเริ่มทำตั้งแต่อายุน้อยๆ เราไม่ควรมองว่าเป็นเรื่องเล็กหรือคิว่าเด็กยังเล็กอยู่ ไม่เป็นไร เรื่องนี้พ่อแม่ต้องมีการลงโทษ โดยที่ไม่จำเป็นต้องตี สังคมไทยมักลงโทษลูกด้วยการบ่น การดุว่าเด็ก เด็กจึงเรียนรู้ว่า แค่โดนดุ โดนว่า ก็ทนฟังไปเดี๋ยวเมื่อมีโอกาสก็ทำอีกได้ คุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีตัดเงินค่าขนม ทำงานบ้าน ลดเวลาเล่นเกมลง เป็นต้น หรือการทำซ้ำๆ ของเด็กก็ไม่จำเป็นต้องตีเพื่อให้จำ การตีนั้นควรทำเป็นบางกรณี เช่น ลูกวัยไม่เกิน 3 ปี ที่มีพฤติกรรมกัด ตี ทำร้ายคนอื่นหรือทำลายสิ่งของ พ่อแม่ควรตีด้วยมือ 2-3 ทีที่มือก็พอ เพื่อสอนให้รู้ว่า ไม่สามารถทำร้ายคนอื่นหรือทำลายข้าวของ หากตีเด็กเมื่ออายุมากกว่านี้ เช่น วัยเรียน เด็กจะเรียนรู้เรื่องความรุนแรง และพ่อแม่เองก็สามารถเจรจา ตั้งเงื่อนไขกับเด็กโตได้แล้ว เรื่องแบบนี้ พ่อแม่ไม่ควรใจอ่อน ต้องยอมแลกกับพฤติกรรมที่ไม่ดีให้หายไป อยากให้พ่อแม่ยึดถือคติเลี้ยงลูกที่ว่า อย่าเอาแต่อารมณ์หรือเพราะสงสาร ที่บ้านต้องมีกฎ กติกาที่ชัดเจน ว่าอะไรทำได้หรือทำไม่ได้ เพื่อช่วยให้เด็กเรียนรู้ ถึงสิ่งที่ถูกที่ผิด ที่สำคัญคือ ต้องตกลงเงื่อนไขกันให้ชัดเจน 

 

ยุคดิจิตอล ควรเลี้ยงลูกอย่างไร

เราเกิดความเข้าใจผิดในการใช้เทคโนโลยี เช่น ให้เด็กๆ ดูโทรทัศน์ตั้งแต่ 2 ปี ทั้งยังดูมากเกินไปด้วย หรือการดูวิดีโอที่บอกว่า กระตุ้นพัฒนาการ อาจทำให้เด็กพูดช้า พูดภาษาต่างดาว ภาษาการ์ตูน และการดูแต่ภาพเคลื่อนไหว ก็ทำให้การเรียนรู้รู้แค่เรื่องภาพ ไม่สามารถโต้ตอบได้ ไม่รู้จักภาษาในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ยังทำให้เด็กมีลักษณะไม่มองหน้า ไม่สบตา ไม่สนใจผู้คน สนใจแต่โทรทัศน์ (คล้ายอาการออทิสติก) ครอบครัวจึงไม่ควรมีตัวช่วยเยอะ โดยเฉพาะการมีเด็กเล็กช่วง 2-3 ปีแรกในบ้าน แม้ว่า สมองมีการเจริญเติบโตมาก ใส่อะไรเข้าไปเด็กเรียนรู้ได้หมด แต่หากเราใส่อะไรที่เกินวัยเขาก็จะเบื่อได้เช่นกัน การเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเขาคือ ตาดู หูฟัง ได้กลิ่น สัมผัส เคลื่อนไหว หยิบจับ เป็นการเรียนรู้ที่ดีและนั่นก็คือการเล่นนั่นเอง

 

ผู้ปกครองควรได้เล่น ได้คุย มีปฏิสัมพันธ์กับลูก เพื่อให้เกิดการเลียนแบบ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ขั้นต้นของมนุษย์ เป็นการเรียนรู้ที่มีพลัง ฉะนั้น เมื่อผู้ใหญ่ได้มีส่วนร่วมกับการเรียนรู้ของเด็ก เล่นกับลูกบ่อยๆ จะช่วยฝึกพัฒนาการ ส่งเสริมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัว ในทางตรงกันข้าม การไม่พูด ไม่เปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ ปล่อยให้อยู่กับเทคโนโลยี เด็กก็จะเข้าข่ายมีปัญหาเรื่องพัฒนาการ และพฤติกรรมต่างๆ จะพบว่า แนวทางการเลี้ยงดูเด็กในต่างประเทศ เป็นการเลี้ยงตามธรรมชาติ ให้เด็กเรียนรู้ด้วยตัวเอง ฉะนั้น ในระดับชั้นเด็กเล็กของเขาจึงไม่เน้นเรื่องการอ่านออก เขียนได้ เขาเน้นเรื่องเล่นเพื่อการเรียนรู้ สำหรับบ้านเราจะอัดในเรื่องวิชาการและการมีสังคม เมื่อถูกบังคับเขาจะเบื่อ เครียด เช่น เครียดเพราะแม่บังคับให้เขียนหนังสือสวยๆ จนแสดงออกทางอารมณ์ คือหงุดหงิดง่าย มีลักษณะก้าวร้าว ยิ่งพ่อแม่ตีบ่อยๆ เด็กจะเก็บกดและก้าวร้าว 

 

ดังนั้น พ่อแม่ต้องกลับมาดูว่า เราใช้อารมณ์ ใช้ความรุนแรงกับลูกรึเปล่า หรือมักทำทุกเรื่อง ทุกอย่างให้ลูก ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เด็กขาดทักษะการเตรียมความพร้อม เช่น การสวมใส่เสื้อผ้า ถุงเท้า รองเท้า พ่อแม่ควรมีวิธีคิดที่จะฝึกลูก ไม่ใช่ใช้แค่ความรักที่จะบริการทุกอย่างให้ลูก ซึ่งอาจทำให้ลูกมีวุฒิภาวะที่ต่ำกว่าวัย ปรับตัวได้ยาก แก้ปัญหาไม่เป็น ทำให้ลูกไม่มีความพยายาม ไม่ค่อยอดทน และกลายเป็นเด็กที่อ่อนแอในที่สุด 

 

Mother & Care Free Mag VOL.11 NO.127

ฐิติพันธุ์ชมสว่างเป็นผู้ฝึกสอน CrossFit อายุ 40 ปีจากประเทศจีนฮ่องกง เธอจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อ 15 ปีก่อน เธอใช้เวลาส่วนใหญ่ที่ศูนย์ออกกำลังกายเพื่อช่วยให้ผู้อื่นมีสุขภาพดีและมีรูปร่าง เธอแต่งงานแล้วและมีลูกชายคนแรกและใช้เวลาว่างของเธอในการฝึกซ้อมมาราธอน
ฐิติพรรณ จอมสว่าง